เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ

7. ฆานธาตุ 8. คันธธาตุ
9. ฆานวิญญาณธาตุ 10. ชิวหาธาตุ
11. รสธาตุ 12. ชิวหาวิญญาณธาตุ
13. กายธาตุ 14. โผฏฐัพพธาตุ
15. กายวิญญาณธาตุ 16. มโนธาตุ
17. ธัมมธาตุ 18. มโนวิญญาณธาตุ

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในธาตุเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ
[1341] ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ เป็นไฉน
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในการพิจารณาธาตุเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาด
ในการพิจารณา
22. อายตนกุสลตาทุกะ
[1342] ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ เป็นไฉน
อายตนะ 12 คือ

1. จักขายตนะ 2. รูปายตนะ
3. โสตายตนะ 4. สัททายตนะ
5. ฆานายตนะ 6. คันธายตนะ
7. ชิวหายตนะ 8. รสายตนะ
9. กายายตนะ 10. โผฏฐัพพายตนะ
11. มนายตนะ 12. ธัมมายตนะ

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม
สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นเหตุฉลาดในอายตนะแห่งอายตนะเหล่านั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ฉลาดในอายตนะ
[1343] ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :335 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] สุตตันติกทุกนิกเขปะ
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูป
เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด
ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในปฏิจจสมุปบาทนั้น
นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
23. ฐานกุสลตาทุกะ
[1344] ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ เป็นไฉน
ธรรมใด ๆ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งธรรมใด ๆ ลักษณะ
นั้น ๆ เรียกว่าฐานะ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในฐานะนั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในฐานะ
[1345] ความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะ เป็นไฉน
ธรรมใด ๆ ไม่เป็นเหตุ ไม่เป็นปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมใด ๆ ลักษณะ
นั้น ๆ ชื่อว่าอฐานะ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือก
เฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ในอฐานะนั้น นี้เรียกว่าความเป็นผู้ฉลาดในอฐานะ
24. อาชชวทุกะ
[1346] ความซื่อตรง เป็นไฉน
ความซื่อตรง ความไม่คด ความไม่งอ ความไม่โกง นี้เรียกว่าความเป็นผู้
ซื่อตรง
[1347] ความอ่อนโยน เป็นไฉน
ความอ่อนโยน ความละมุนละไม ความไม่แข็ง ความไม่กระด้าง ความเจียมใจ
นี้เรียกว่าความอ่อนโยน

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :336 }